ประโยชน์ของ “หัวไชเท้า-สาหร่าย” ผักเคียงใน “ซูชิ-ซาชิมิ” ของญี่ปุ่น

เวลาไปร้านอาหารญี่ปุ่นและสั่งเมนูซาชิมิก็จะเห็นว่ามีผักหลากหลายชนิด เช่น หัวไชเท้าเส้น ดอกเบญจมาศ ใบโอบะ หรือชิโสะและสาหร่ายทะเลต่างๆ

มารู้จักสาหร่ายทะเลที่ใช้เสิร์ฟมากับซาชิมิกันนะคะ เหตุผลการเสิร์ฟสาหร่ายชนิดต่างๆ พร้อมกับซาชิมิ

ผักที่ใช้เสิร์ฟพร้อมกับซาชิมิเป็นภูมิปัญญาของคนญี่ปุ่นในอดีต เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น หัวไชเท้าเส้นที่เสิร์ฟมากับซาชิมิเพื่อใช้ดูดซับของเหลวที่ออกมาจากซาชิมิ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วหัวไชเท้าดิบจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ใบโอบะซึ่งช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ และสาหร่ายทะเลซึ่งช่วยปรับให้สภาพแวดล้อมในลำไส้ดีขึ้น

สาหร่ายทะเลที่ใช้เสิร์ฟกับซาชิมิ

นอกจากการใช้สาหร่ายสีแดงที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ เช่น ล้างด้วยน้ำ ตากแดดจนแห้ง และใช้สารละลายด่างเป็นตัวช่วยเพื่อให้สาหร่ายมีสีขาวแล้ว คนญี่ปุ่นก็นำสาหร่ายที่ได้จากธรรมชาติมาเสิร์ฟพร้อมกับซาชิมิ ซึ่งมีดังนี้คือ

สาหร่ายสีแดงโทสะคะโนริ (トサカノリ)

โทสะคะโนริหรือชื่อภาษาอังกฤษ Meristotheca papulosa เป็นสาหร่ายสีแดงที่มีรูปร่างคล้ายหงอนไก่ ซึ่งเจริญได้มากในทะเลทางตอนใต้ของจังหวัดคาโกะชิมะ (Kagoshima Prefecture) สาหร่ายชนิดนี้มีรสสัมผัสยืดหยุ่น คนญี่ปุ่นนิยมนำมารับประทานมาก

สาหร่ายสีเขียวโอโกะโนริ (オゴノリ)

โอโกะโนริ หรือชื่อภาษาอังกฤษ Gracilaria เป็นสาหร่ายที่คนญี่ปุ่นนิยมนำมาสกัดสารเพื่อทำวุ้นและใช้เสิร์ฟกับซาชิมิ สาหร่ายชนิดนี้เจริญได้ทั่วไปในทะเลญี่ปุ่นที่มีระบบน้ำขึ้นลง อย่างไรก็ดี สาหร่ายชนิดนี้จะเป็นพิษหากนำมารับประทานโดยทันทีทันใดหลังจากเก็บมาจากทะเล คนญี่ปุ่นจึงนำมันมาแช่ล้างด้วยสารละลายด่างก่อนนำมารับประทาน

สาหร่ายสีแดงมาฟุโนริ (マフノリ)

สาหร่ายมาฟุโนริ หรือชื่อภาษาอังกฤษ Gloiopeltis เป็นสาหร่ายที่เจริญอยู่ในทะเลเกือบทุกที่ของญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นนิยมนำมารับประทานกับซาชิมิและใส่ซุปมิโซะ และสกัดสารจากสาหร่ายชนิดนี้มาเป็นวัตถุดิบในการทำกาวด้วย

สุขภาพ-หัวไชเท้า-สาหร่าย

สาหร่ายวาคาเมะ (ワカメ)

วาคามะมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Alaria crassifolia เป็นสาหร่ายทะเลที่คนส่วนใหญ่รู้จักและนำมารับประทานเป็นเมนูต่างๆ เช่น ยำสาหร่าย ซุปมิโซะ และเสิร์ฟพร้อมกับซาชิมิ เป็นต้น

สาหร่ายทะเลอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและมีประโยชน์ต่อร่างกาย หากเสิร์ฟมาพร้อมกับซาชิมิก็นำมารับประทานได้ อย่าทิ้งไปให้เสียประโยชน์นะคะ

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ภาวะกล้ามเนื้อกระตุก สัญญาณเตือน ‘โรคติกส์’

ภาวะกล้ามเนื้อกระตุก สัญญาณเตือน ‘โรคติกส์’

สุขภาพ

สถาบันประสาทวิทยา เตือนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเอง หรือ อาการกล้ามเนื้อกระตุกเกิดขึ้นทันทีทันใด สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ และอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นตามมาได้ แนะควรได้รับการตรวจเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป โรคติกส์ เป็นโรคในกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ (movement disorders) มักพบในเด็กวัยเรียน (5 – 7 ปี) มาในรูปแบบของการเคลื่อนไหวซ้ำรูปแบบเดิมที่ไม่มีจุดประสงค์ เช่น กะพริบตา ยักคิ้ว แสยะยิ้ม พยักหน้า ยักไหล่ กระโดดหรือมีอาการกระตุกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่ควบคุมไม่ได้ โดยส่วนมากผู้ป่วยมักมีความรู้สึกภายในบางอย่างนำมาก่อนที่จะเกิดอาการเคลื่อนไหว และเมื่อเคลื่อนไหวแล้วจะทำให้ความรู้สึกนั้นหายไปเหมือนได้รับการปลดปล่อย หากผู้ป่วยพยายามบังคับไม่เคลื่อนไหวจะทำให้รู้สึกอัดอั้นไม่สบายใจ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ผู้ป่วยสามารถที่จะอดกลั้นต่อความต้องการที่จะเคลื่อนไหวผิดปกติได้ในระยะเวลาสั้นๆ (temporary suppression) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคติกส์ โรคนี้อาจทำให้ผู้ป่วยเสียบุคลิก ขาดความมั่นใจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเกิดความผิดปกติอื่นตามมา ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

ด้านนพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในผู้ป่วยบางรายอาจมา ในรูปแบบการส่งเสียงที่ผิดปกติ เช่น กระแอม เสียงกลืนน้ำลาย หรือกรณีที่มีอาการมากอาจเป็นลักษณะการพูดซ้ำ พูดเลียนแบบ หรือพูดคำหยาบคาย เป็นต้น แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการแสดงทั้งการเคลื่อนไหว และการส่งเสียงผิดปกติ จะเรียกว่าโรคทูเร็ตต์ ในโรคกลุ่มนี้อาจมีอาการของกลุ่มโรคจิตเวชนำมาก่อน เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคสมาธิสั้น เป็นต้น